Back
FRUIT INVENTORY MANAGEMENT ON WEB APPLICATION: A CASE STUDY OF A COLD-PRESSED FRUIT JUICE COMPANY
การจัดการสินค้าคงคลังผลไม้บนเว็บแอปพลิเคชัน กรณีศึกษา : บริษัทน้ำผลไม้สกัดเย็นแห่งหนึ่ง
@คณะวิทยาศาสตร์
#Cluster 2024
#Industry 4.0
Details
-
Objective
แนวโน้มคนรักสุขภาพยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งผลพวงจากการระบาดของโควิด-19 ก็ทำให้ผู้คนหันมาใส่ใจสุขภาพมากยิ่งขึ้น และต้องการหาผลิตภัณฑ์ที่จะมาเสริมสร้างภูมิคุ้มกันมากขึ้นเช่นกัน จึงทำให้ตลาดเครื่องดื่มสุขภาพในไทยยังคงเติบโต และยังเติบโตต่อเนื่องไปอีก 1-2 ปี มูลค่าตลาดเครื่องดื่มสุขภาพ โดยรวมปีพ.ศ. 2564 เป็น 9,654 ล้านบาท ปีพ.ศ. 2565 มีการเติบโตราว 5-7% เป็นมูลค่าตลาดถึง 10,200 ล้านบาท คาดว่าในปีพ.ศ. 2566 ตลาดของเครื่องดื่มสุขภาพก็จะมีแนวโน้มที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ โดยน้ำผลไม้เป็นเครื่องดื่มยอดนิยมและมีบทบาทสำคัญในอาหารของผู้บริโภคที่ชอบความเป็นธรรมชาติและคำนึงถึงการมีสุขภาพดีน้ำผลไม้ยังเป็นแหล่งของสารอาหารเสริมที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยช่วงทศวรรษที่ผ่านมามีการใช้นวัตกรรมใหม่เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและยืดอายุการเก็บรักษาคุณภาพทางโภชนาการของน้ำผลไม้เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่จำนวนมากรวมถึงกระบวนการสกัดด้วยแรงดันสูง (High Pressure Processing) เทคโนโลยีขั้นพื้นฐานการฉายรังสี (Light Based Technologies) อัลตราซาวด์ (Ultrasound) กระบวนการโอโซน (Ozone Processing) และนอนเทอร์มอล - พลาสมา (Non Thermal Plasma) ซึ่งการแปรรูปอาหารมีทั้งแบบที่ไม่ใช้ความร้อนและใช้ความร้อน ถูกนําไปใช้ในการเก็บรักษาการแปรรูปและบรรจุน้ำผลไม้เทคโนโลยีใหม่เหล่านี้ถูกนำมาใช้ใน ตลาดน้ำผลไม้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีประสิทธิภาพในการยืดอายุการเก็บรักษา การลดการทำปฏิกิริยาของเอนไซม์และการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์เพื่อที่จะรักษาคุณภาพของผลผลิตน้ำผลไม้ให้มีความสดใหม่ (Rajauria & Tiwari, 2018) โดยปัจจุบันน้ำผลไม้สกัดเย็น (Cold Pressed Juices) เป็นน้ำผลไม้ 100% จากธรรมชาติที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคที่รักสุขภาพ น้ำผลไม้สกัดเย็น (Cold Pressed Juice) คือน้ำผลไม้ 100% ที่เกิดจากการผลิตด้วยวิธีการสกัดเย็น (Cold Pressed) ซึ่งเป็นการผลิตน้ำผลไม้โดยใช้เครื่องไฮดรอลิกแรงดัน (Hydraulic Cold Press Juice Machines) บีบออกแรงกดหรือบีบเนื้อผลไม้เพื่อให้สกัดน้ำผลไม้ออกมาโดยไม่ให้เกิดความร้อน จึงสามารถคงปริมาณวิตามินและเอนไซม์รวมถึงสีสันและรสชาติตามธรรมชาติของผลไม้ การสกัดเย็นจึงมีความแตกต่างจากการผลิตน้ำผลไม้ด้วยวิธีการอื่นที่เกิดจากการใช้เครื่องปั่น ซึ่งก่อให้เกิดความร้อนหรือน้ำผลไม้สําเร็จรูปที่ต้องผ่านกระบวนการพาสเจอร์ไรส์จนทำให้เอนไซม์และวิตามินในผลไม้รวมถึงสีสันและรสชาติตามธรรมชาติของผลไม้ถูกทำลายจนสูญเสียคุณค่าทางโภชนาการโดยธรรมชาติซึ่งผู้ผลิตจะทำการเติมสีกลิ่นสังเคราะห์และน้ำตาลเพื่อเพิ่มความหวาน ทั้งนี้ล้วนเป็นผลเสียต่อร่างกายจึงถือเป็นความแตกต่างที่สร้างจุดเด่นของน้ำผลไม้สกัดเย็นที่สามารถรักษารสชาติตามธรรมชาติของผลไม้และคงคุณค่าทางโภชนาการที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2562) สำหรับธุรกิจการทำน้ำผลไม้สกัดเย็นจะต้องรักษาจุดเด่นของน้ำผลไม้สกัดเย็นไว้ทั้งคุณค่าความสดและโภชนาการ อีกทั้งยังต้องวางแผนจัดการกับสินค้าที่เป็นของสดและมีเฉพาะฤดูกาลทางบริษัทจึงจะมีการจัดซื้อสินค้ามาเก็บไว้ในคลังสินค้าเพื่อจัดทำน้ำผลไม้สกัดเย็น โดยคลังสินค้าเป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญของระบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานของในองค์กร โดยทำหน้าที่ในการจัดเก็บสินค้าในระหว่างจุดต่าง ๆ หากบริษัทมีปัญหาในการตรวจนับไม่ถูกต้องก็จะส่งผลกระทบต่อการผลิต สินค้าคงคลังจริงไม่ตรงกันจะส่งผลให้สินค้าขาดมือ (Stock Out) หรือต่ำกว่า (Minimum Stock) ที่กำหนดไว้ทำให้สินค้าเกิน (Maximum Stock) ที่กำหนดส่งผลให้พื้นที่จัดเก็บไม่เพียงพอ และในกรณีที่ธุรกิจมีสินค้าไม่เพียงพอที่จะจำหน่าย ทำให้ลูกค้าขาดความมั่นใจ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ การจัดการระบบสินค้าคงคลังจึงมีบทบาทสำคัญในการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ในงานวิจัยนี้เป็นกรณีศึกษาของบริษัทน้ำผลไม้สกัดเย็นแห่งหนึ่ง พบว่า ในการบริหารจัดการคลังสินค้าของบริษัทไม่มีการจัดระบบสินค้าคงคลังและการบันทึกข้อมูล จึงทำให้ข้อมูลของสินค้าที่ต้องจัดซื้อหรือเก็บในคลังมีความไม่เพียงพอหรือสินค้าล้นคลังจนทำให้ผลไม้เกิดการเน่าเสีย ทางคณะผู้จัดทำปัญหาพิเศษได้เห็นถึงปัญหาข้างต้นจึงได้ทำการบริหารจัดการสินค้าคงคลังสำหรับการสั่งซื้อผลไม้ของร้านน้ำผลไม้สกัดเย็นผ่านเว็บแอปพลิเคชัน (Web Application) โดยใช้โปรแกรม Visual Studio Code ในการทำเว็บแอปพลิเคชัน เพื่อช่วยในการจัดการข้อมูลผลไม้ให้มีความถูกต้องมากขึ้นและลดความเสี่ยงในการมีผลไม้ไม่เพียงพอหรือผลไม้ล้นคลังจนทำให้ผลไม้เน่าเสีย
Project Members
ศิรภัสสร สมอทอง
SIRAPHATSORN SAMORTHONG
#นักศึกษา
Member
พงศนันท์ หวังยงกุลวัฒนา
PONGSANAN WANGYONGKULWATTANA
#นักศึกษา
Member
สโรชา แซ่ตั้ง
SAROCHA SAETANG
#นักศึกษา
Member
กนกกรรณ์ ลี้โรจนาประภา
Kanogkan Leerojanaprapa
#อาจารย์
Advisor
Vote for this Innovation!
Loading...
Powered By KMITL Innovation Project