Back

Web Application for Precision Irrigation

เว็บแอปพลิเคชันสำหรับการควบคุมการให้น้ำแบบแม่นยำ

@คณะวิศวกรรมศาสตร์

#KLLC 2024
#Digital Technology
เว็บแอปพลิเคชันสำหรับการควบคุมการให้น้ำแบบแม่นยำ

Details

This report aims to solve the problem of overuse of water resources in agriculture by creating a web application for precise irrigation control using HTML, CSS, and JavaScript by calculating the amount of irrigation. Water from the plant water demand (ETc) using the Penman-monteith equation. together with user data stored on NETPIE and hourly climate data from the Meteorological Department. This web application for precise irrigation control includes: The registration and login system requires users to specify Device name (from NETPIE), Client ID (from NETPIE), Token (from NETPIE), Email address and Password to be used in requesting information using NETPIE's API. that user and log in with the email address and password that was registered. The main user system (registered user). The information that the user must input includes the type of plant, the water distribution rate used (liters/minute), the size of the planting area (square meters), the age of the plant (month), the province, and The type of soil obtained from observation and Output is the amount of water required by plants. (mm/day), the length of time that water should be given (minutes), and the recommended time to water the plants. In the system, unregistered users will have the same operating procedures as the main users. (Registered users) but will not use data from NETPIE to calculate together with the equation. Penman-monteith From an experiment in creating a web application for precise irrigation control using HTML, CSS and JavaScript, it was found that it can actually be used and can provide output as intended.

Objective

         ประเทศไทยมีความโดดเด่นด้วยพื้นที่อุดมสมบูรณ์ที่เหมาะแก่การเพาะปลูกและเกษตรกรเป็นอาชีพหลักของคนไทยมาตลอดสมัย นับตั้งแต่ยุคโบราณจนถึงปัจจุบัน พ.ศ.2566 จำนวนเกษตรกรที่มาขึ้นทะเบียนถึง9,202,664 ครัวเรือน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 40 ของประชากรทั้งหมด(กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 2563) อีกทั้งสภาพภูมิประเทศและสภาพภูมิอากาศที่หลากหลายของประเทศทำให้เกษตรกรมีโอกาสผลิตผลผลิตทางการเกษตรต่างๆ อย่างหลากหลาย และส่งผลให้เป็นเสริมสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย อย่างไรก็ดี แม้ว่าอุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลาย ประเทศไทยก็ยังต้องเผชิญกับแนวโน้มของภัยธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา คือ ภัยแล้งและการขาดแคลนน้ำ อย่างที่ผ่านมาใน เกษตรกรในประเทศไทยต้องรับมือกับปัญหาของภัยแล้งอย่างสัมพันธ์กับเศรษฐกิจและความเจริญรุ่งเรืองของชุมชน ความขาดแคลนน้ำทำให้การเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์เป็นที่พบเห็นอย่างต่อเนื่อง ผลผลิตทางการเกษตรลดลง ทำให้รายได้ของเกษตรกรลดลง และมีผลกระทบต่อความเจริญรุ่งเรืองของชุมชนทั้งหมด การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการจัดการน้ำทำให้เราสามารถควบคุมและใช้น้ำอย่างประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 
         การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการจัดการน้ำเป็นหนึ่งในแนวทางที่สำคัญในการพัฒนาการจัดการทรัพยากรน้ำในปัจจุบัน น้ำเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการรอดอยู่ของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการจัดการน้ำเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความยั่งยืนและการคงอยู่ของโลกในอนาคต
หนึ่งในเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีผลกระทบใหญ่ในการจัดการน้ำคือ “ระบบให้น้ำแบบแม่นยำ (precision irrigation)” โดยใช้เซ็นเซอร์และเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) เพื่อตรวจวัดความชื้นในดินและสภาพอากาศ ส่งข้อมูลไปยังระบบคอมพิวเตอร์สำหรับการวิเคราะห์และปรับการให้น้ำแก่พืชที่เหมาะสมตามปริมาณการใช้น้ำของพืช หรือความต้องการน้ำของพืช (Evapotranspiration or Consumptive Use ; ETo) ร่วมกับค่าสัมประสิทธิ์พืช (Crop Coefficient ; Kc) ระบบนี้เป็นระบบที่ช่วยประหยัดน้ำและเพิ่มประสิทธิภาพในการรดน้ำ ลดความสูญเสียน้ำและค่าใช้จ่ายในการใช้น้ำ
         ปริมาณการใช้น้ำของพืช หรือความต้องการน้ำของพืช (Evapotranspiration or Consumptive Use ; ETo) เป็นการรวมรวมปริมาณน้ำที่ถูกสูญเสียจากพืชผ่านกระบวนการการระเหย (evaporation) จากผิวดินและการถ่ายเทของน้ำ (transpiration) จากส่วนบนของพืช เป็นค่าที่บ่งบอกปริมาณน้ำที่พืชต้องการเพื่อการเจริญเติบโตและคงอยู่อย่างสมดุลในสภาวะที่มีสภาพอากาศและอุณหภูมิที่เหมาะสม การหาค่าปริมาณการใช้น้ำของพืช (ETo) นั้นใช้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพอากาศและลักษณะพื้นที่ เช่น อุณหภูมิอากาศ ความชื้นสัมพัทธ์ ความเร็วลม และพิกัดภูมิศาสตร์มาทำการคำนวณ ในปัจจุบันมีสมการที่ได้รับความนิยมและเป็นที่ยอมรับอยู่หลากหลายสมการด้วยกัน ได้แก่ วิธีการของ E-pan (Class A plan), Blaney-Criddle, Thronthwaite, Radiation, Hargreaves , Modified Penman และ Penman-Monteith  
         จากที่กล่าวมา ผู้วิจัยซึ่งเป็นนักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมเกษตร สาขาวิศวกรรมเกษตรอัจฉริยะ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จึงสนใจศึกษาการจัดการน้ำโดยใช้ค่าปริมาณความต้องการน้ำของพืช (ETo) และค่าสัมประสิทธิ์พืช (Kc) ด้วยสมการ Modified Penman เนื่องจากเป็นสมการที่ได้รับความน่าเชื่อถือในระดับนานาชาติและได้รับการแนะนำโดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization, FAO) เพื่อนำไปช่วยคำนวณปริมาณให้น้ำแก่พืช รวมถึงให้คำแนะนำในการเพาะปลูกและช่วยให้ผู้ใช้โปรแกรมสามารถวางแผนการให้น้ำที่เหมาะสมและประหยัดทรัพยากรน้ำได้ เพราะสามารถปรับปริมาณน้ำที่ให้ให้เพียงพอกับความต้องการจริงของพืชได้ เช่น ในช่วงช่วงขาดน้ำจะต้องเพิ่มปริมาณน้ำที่ให้ในการให้น้ำพืช เพื่อช่วยให้พืชเติบโตได้อย่างเหมาะสมและไม่สิ้นเปลืองน้ำเกินความจำเป็นของพืช

Project Members

กายกาญจน์ จันทรวงศ์ไพศาล
GUYGAN CHANTRAWONGPHAISAL

#นักศึกษา

Member
ปานมนัส ศิริสมบูรณ์

#อาจารย์

Advisor

Vote for this Innovation!

Loading...