Back
Ejector efficiency enhancement via computational fluid dynamics
การเพิ่มประสิทธิภาพอีเจ็ตเตอร์ผ่านการรคำนวณพลศาสตร์ของไหล
@คณะวิศวกรรมศาสตร์
#KLLC 2024
#Industry 4.0
Details
ในงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพของอีเจ็คเตอร์ผ่านการศึกษาคำนวณทางพลศาสตร์ของไหล โดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์และโปรแกรมวิเคราะห์เชิงตัวเลข ANSYS (FLUENT) 2023 เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของอีเจ็คเตอร์ที่ใช้อากาศเป็นสารทำงาน แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่นำมาใช้ในจำลองอยู่บนพื้นฐานของการไหล แบบ Choked โดยเกิดขึ้นเมื่อของไหลไหลผ่านคอคอด และการเคลื่อนที่ผ่านคลื่นกระแทกที่ตั้งฉากกับการไหล โดยพิจารณาได้จาก Entrainment Ratio ซึ่งเป็นผลลัพธ์จากแบบจำลองทางคณิตศาตร์ และทำการศึกษาอีเจ็คเตอร์ จากรูปทรงต่าง ๆ ซึ่งได้ทำการออกแบบขึ้นมาจากเงื่อนไขธรรมชาติของอากาศ และเป็นของไหลที่อัดตัวได้ โดยเป็นแบบจำลองในการศึกษาผลกระทบของคุณสมบัติต่างๆ ของสารทำงานที่เป็นอากาศ
Objective
เนื่องจากอีเจ็คเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้กันมากในอุตสาหกรรม อีเจ็คเตอร์จะใช้ในการสร้างสภาวะสุญญากาศภายในระบบต่างๆ โดยข้อดีของอีเจ็คเตอร์ มีหลายประการ เช่น ต้นทุนต่ำ การติดตั้งเเละการบำรุงรักษาง่าย โดยปรกติจะใช้พลังงานจากไอน้ำความดันที่สูงที่ได้จากหม้อไอน้ำ(Boiler) เเละสามารถ นำความร้อนเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตมาใ้ในการขับเคลื่อนระบบได้ อีเจ็คเตอร์สามารถใช้เเทนระบบทำความเย็นเเบบอัดไอ(Compressor) โดยใช้พลังงานความร้อนเกรดต่ำโดยมีการเติมไฟฟ้าเข้าไปเล็กน้อยที่จำเป็นในการหมุนเวียนของเหลวทำงาน (Working Fluid) ซึ่งระบบทำความเย็นมี 2 เเบบ คือ ระบบทำความเย็นเเบบดูดซึมเเละเเบบระบบทำความเย็นเเบบเจ็ท ซึ่งเเบบเจ็ทยังเป็นระบบทำความเย็นเพียงระบบเดียวที่สามารถใช้น้ำซึ่งเป็นสารทำความเย็นที่เป็นมิตรกับสิ่งเเวดล้อมเเละราคาถูกที่สุด
Project Members
ธมลวรรณ ปาทะกาญจน์
THAMOLWAN PATHAKAN
#นักศึกษา
Member
ศุภณัฐ ดำเพชร
SUPHANAT DUMPHET
#นักศึกษา
Member
ศุภากร ลิมป์พิทักษ์พร
SUPAKORN LIMPITAKPHON
#นักศึกษา
Member
ณัฐวุฒิ เรืองตระกูล
Natthawut Ruangtrakoon
#อาจารย์
Advisor
เอกราช บำรุงไทยชัยชาญ
Eakarach Bumrungthaichaichan
#อาจารย์
Co-advisor
Vote for this Innovation!
Loading...
Powered By KMITL Innovation Project