Back

The process of Khao Kam by fermentation

กระบวนการแปรรูปข้าวก่ำโดยการหมัก

@คณะอุตสาหกรรมอาหาร

#KLLC 2024
#Industry 4.0
กระบวนการแปรรูปข้าวก่ำโดยการหมัก

Details

ยังไม่สมบูรณ์

Objective

ข้าวเหนียวดำ หรือข้าวก่ำ (Black sticky rice) เป็นข้าวที่ถูกลืม เมล็ดข้าวมีสีม่วงดำ และเนื้อเมล็ด
ค่อนข้างแข็ง เคี้ยวละเอียดยากกว่า แต่นิยมรับประทานในรูปของขนมหวานมากกว่าข้าวอื่นๆ อาทิ ข้าวเหนียว
ดำกะทิ ข้าวเหนียวดำใส่ถั่วดำ และใช้ทำข้าวหลาม เป็นต้น ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Oryza sativa Linn.cและ
ชื่อท้องถิ่น:ภาคกลาง และทั่วไปนิยมเรียกว่า ข้าวเหนียวดำ ภาคเหนือ และอีสานจะเรียกว่าข้าวก่ำ เป็นพันธุ์
ข้าวเหนียวดำท้องถิ่นของจังหวัดพะเยา และเป็นข้าวเหนียวไวแสง (ข้าวนาปี) เปลือกข้าวด้านนอก (แกลบ) มีสี
ออกม่วงดำ เยื่อหุ้มเมล็ดมีสีม่วงอมแดง เมล็ดค่อนข้างสั้น และป้อมกว่าข้าวเหนียวดำพันธุ์อื่น ออกดอก
ประมาณเดือนกันยายน และเริ่มเก็บเกี่ยวได้ประมาณต้นเดือนพฤศจิกายน และยังมีประโยชน์นำมาสกัด
สำหรับใช้เป็นสีผสมอาหาร ใช้ในทางการแพทย์ และเป็นส่วนผสมของอาหารเสริม สารสำคัญที่พบในข้าวก่ำคือ
สารแอนโทไซยานินส์ สารแอนโทไซยานิดิน สารฟีนอลิกจำพวก Anisole, Ferulic และสาร Alkaloid
เนื่องจากข้าวก่ำกัญญาเป็นข้าวสายพันธุ์ที่หายากไม่ค่อยนิยมปลูกเพราะไม่นิยมรับประทานเป็นข้าวหลัก
เหมือนกับข้าวเหนียวขาว และข้าวจ้าวและยังเป็นสายพันธุ์ที่หาได้ยาก จึงอยากนำมาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลให้กับ
พืชผลทางการเกษตรเป็นการช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกร โดยนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์น้ำส้มสายชูและมิรินที่เป็น
ผลิตภัณฑ์ทางเลือกเพื่อสุขภาพ โดยมีคุณประโยชน์ในการช่วยลดความเสี่ยงของโรคต่างๆ ได้แก่ โรคเบาหวาน
โรคความดันโลหิตสูง และช่วยในกระบวนการสลายไขมันของร่างกายได้อีกด้วย

Project Members

เอกณัฏฐา จั่นจำรัส
AEKNATTHA JUNCHAMRAT

#นักศึกษา

Member
อารยา วนสินธุ์
ARAYA WANASIN

#นักศึกษา

Member
ปาริฉัตร นาเมืองรักษ์
PARICHAT NAMAUNGRAK

#นักศึกษา

Member
วิรามศรี ศรีพจนารถ
Wiramsri Sriphochanart

#อาจารย์

Advisor

Vote for this Innovation!

Loading...