การแปลงก้างปลาเป็นถ่านกัมมันต์เจือไนโตรเจนเพื่อประยุกต์ใช้สำหรับตัวเก็บประจุยิ่งยวด

วิทยาลัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมวัสดุ

คำอธิบายอย่างย่อ

ถ่านกัมมันต์เจือไนโตรเจนจากก้างปลาแซลมอนสำหรับประยุกต์ใช้ในตัวเก็บประจุยิ่งยวด

ผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนา

รองศาสตราจารย์ ดร.วินัดดา วงศ์วิริยะพันธ์

หัวหน้าทีมวิจัยและอาจารย์วิทยาลัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมวัสดุ

ดร.วิชุฎา สัตยารัฐ

ผู้ร่วมวิจัย

ดร.ชลาธร จันทร์ทัด

ผู้ร่วมวิจัย

รายละเอียด

ในปัจจุบันมีการพัฒนาและขับเคลื่อนทางด้านอุตสาหกรรมรวมไปถึงการขับเคลื่อนทางด้านเศรษฐกิจให้มีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น นำไปสู่ความต้องการทางด้านพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นจึงได้มีงานวิจัยที่พัฒนาตัวเก็บประจุยิ่งยวดให้มีประสิทธิภาพสูง ในขณะเดียวกันประเทศไทยมีการบริโภคปลาแซลมอนจำนวนมาก ทำให้เกิดของเสียจากก้างปลาแซลมอนเป็นจำนวนมาก ดังนั้นงานวิจัยนี้ จึงได้พัฒนาถ่านกัมมันต์เจือไนโตรเจนจากก้างปลาแซลมอนสำหรับประยุกต์ใช้ในตัวเก็บประจุยิ่งยวดเพื่อเพิ่มมูลค่าและศึกษาสมบัติทางเคมีไฟฟ้าเพื่อใช้เป็นขั้วไฟฟ้าของตัวเก็บประจุยิ่งยวดที่มีสมบัติอัตราการรักษาความจุที่ดี โดยใช้วิธีการสังเคราะห์ขั้นตอนเดียว เจือไนโตรเจนโดยวิธีการเจือด้วยตนเอง พบว่าได้ผลผลิตเป็นถ่านกัมมันต์เจือไนโตรเจน มีพื้นที่ผิวจำเพาะสูง 1280 ตารางเมตรต่อกรัม มีองค์ประกอบของไนโตรเจนประมาณ 4% ให้ค่าการเก็บประจุสูงสุดถึง 488 ฟารัดต่อกรัม และมีค่าอัตราการรักษาค่าการเก็บประจุที่ความหนาแน่นกระแสไฟฟ้า 2 แอมแปร์ต่อกรัม สูงถึง 80% แสดงให้เห็นว่าก้างปลาแซลมอนเป็นวัสดุทางเลือกสำหรับใช้เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์เป็นถ่านกัมมันต์สำหรับประยุกต์ใช้เป็นขั้วของตัวเก็บประจุยิ่งยวด และกรรมวิธีการสังเคราะห์เป็นวิธีที่ง่าย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม