ศึกษาความเป็นไปได้ของการออกแบบผลิตภัณฑ์จากวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ด้วยกระบวนการ Upcycle ภายใต้ความร่วมมือกับสถานประกอบการอุตสาหกรรมท้องถิ่น

คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ

คำอธิบายอย่างย่อ

เป็นการใช้วัสดุเหลือใช้จากการผลิตมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ประกอบการ รวมถึงการส่งเสริมให้ใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ นวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ภายใต้การมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคอุตสาหกรรม ให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป

ผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนา

อาจารย์ ดร.ชิดชัย ควรเดชะคุปต์

หัวหน้าโครงการ

รายละเอียด

จากการศึกษาการดำเนินกิจการพบว่ามีวัสดุสะอาดที่เหลือจากการผลิตอยู่จำนวนมากในแต่ละวัน ซึ่งต้องใช้ทุนในการจัดการวัสดุที่เหลือใช้จำนวนมาก อีกทั้งต้องบริหารพื้นที่จัดเก็บอย่างเป็นระบบ ซึ่งแก้ไขโดยการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิต รวมทั้งการลดของเสีย การใช้วัสดุเหลือใช้จากการผลิตมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ประกอบการ รวมถึงการส่งเสริมให้ใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ นวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ภายใต้การมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคอุตสาหกรรม ให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป โดยการศึกษาทฤษฎีแนวคิดการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า (3Rs) ร่วมกับเทคโนโลยีสะอาด (Clean Technology) จัดการของเสียในสถานประกอบการอุตสาหกรรม

      จึงได้เกิดโครงการทดลองต้นแบบเพื่อทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับการใช้กระบวนการออกแบบเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการในการเข้าสู่ตลาดสินค้าใหม่ เป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้จากสถาบันการศึกษาสู่การประยุกต์ใช้จริงในภาคอุตสาหกรรม สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางหรือคู่มือให้กับผู้ประกอบการ หรือ Start Up เพื่อพิจารณาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับอุตสาหกรรมของตน รวมถึงนักออกแบบ นักศึกษา หรือคนทั่วไปที่สนใจงานออกแบบ Upcycle สามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้กับงานที่ต้องการออกแบบได้อย่างหลากหลาย