เทคโนโลยีตรวจจับพลาสมาบับเบิ้ล พัฒนาการนําร่องอากาศยาน คาดการณ์ภัยพิบัติ และเตือนภัย

คณะวิศวกรรมศาสตร์

คำอธิบายอย่างย่อ

นวัตกรรมตรวจจับพลาสมาบับเบิ้ล (Plasma Bubble) เพื่อคาดการณ์ภัยพิบัติ นำร่องอากาศยาน และใช้ GPS ได้อย่างแม่นยำและปลอดภัย

ผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนา

ศ.ดร.พรชัย ทรัพย์นิธิ

หัวหน้าทีมวิจัยและอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์

รายละเอียด

          นวัตกรรมตรวจจับพลาสมาบับเบิ้ล (Plasma Bubble) เพื่อคาดการณ์ภัยพิบัติ นำร่องอากาศยาน และใช้ GPS ได้อย่างแม่นยำและปลอดภัย ผลงานทีมวิจัยนำโดย ศ.ดร.พรชัย ทรัพย์นิธิ หัวหน้าทีมวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. กล่าวว่า สจล.ร่วมกับ สถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งชาติ หรือ NICT ประเทศญี่ปุ่น 

         ทั้งนี้ พลาสมาบับเบิ้ล (Plasma Bubble) เป็นความผิดปกติที่เกิดในชั้นบรรยากาศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบการสื่อสาร การระบุตำแหน่ง การนำร่องอากาศยาน สัญญาณ GPS แม่นยำลดลง ซึ่งจะนำไปสู่อุบัติเหตุและความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของคนไทยและทั่วโลก  

         ประเทศไทยเป็นหนึ่งในสถานที่อันเหมาะสมที่สุดของโลกในการตรวจจับการก่อตัวขึ้นของพลาสมาบับเบิ้ล เนื่องจากมีพื้นแผ่นดินใกล้เส้นศูนย์สูตรแม่เหล็กและเข้าถึงได้โดยง่าย สจล.ได้สร้าง “สถานีเรดาห์ตรวจสภาพอวกาศ” ที่วิทยาเขตสจล.จังหวัดชุมพร เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเรดาร์ VHF ร่วมกับเซนเซอร์ในการตรวจพลาสมาบับเบิ้ล ความผิดปกติที่เกิดในชั้นบรรยากาศด้วยประสิทธิภาพในการมอนิเตอร์ การแจ้งเตือนถึงความผิดปกติแก่ผู้ใช้งานทันที โดยแจ้งเตือนไปยังสถานีต่างๆ ทั่วโลก รวมถึงเครื่องรับสัญญาณ GNSS ที่ใช้งานในขณะนั้นได้ทราบล่วงหน้า เพื่อเตรียมการรับมือและลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นต่อชีวิตและทรัพย์สินจากความผิดพลาดในการระบุตำแหน่ง GPS และการสื่อสารดาวเทียม นับเป็นนวัตกรรมที่นำมาใช้ประโยชน์ และประยุกต์ใช้งานด้านต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมการบิน และพัฒนาศักยภาพการทำงานด้วยระบบดาวเทียมซึ่งมีบทบาทสูงในวิถีชีวิตของประชาชน